-อาจารย์เสนอแนะเรื่องหน่วยของเเต่ละกลุ่มมีดังนี้
1. หน่วยแมลง
2. อวัยวะภายนอก
3. กล้วย
4. ดอกกุหลาบ
5. ข้าว
6. นาฬิกา
7. ขนมไทย
8. ยานพาหนะ
9. กระดุม
10. ผลไม้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ปฐมวัยควรประกอบด้วยเนื้อหาเเละทักษะ(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:17-19)
1.การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
2.ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลข
3.การจับคุ่ (Mateting) เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักลักษณะต่างๆเเละจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน4.การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
5.การเปรียบเทียบ (Compaarning) คือการสืบสวนเเละอาศัยความสัมพันธ์
6.การจัดลำดับ (Ordering)
7.รูปทรงเเละพื้นที่ (Shape and Space)
8.การวัด (Measurement)
9.เซค (Set)
10.เศษส่วน (Fraction)
11.การทำตามเเบบหรือตามลวดลาย (Patterning)
12.การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาปฐมวัย (อาจารย์ เยาวพา เตชะคุปต์)
1 การจัดกลุ่มหรือเซต
2 จำนวน 1-103 ระบบจำนวน (Number System)
4 ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5 คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6 ลำดับที่
7 การวัด
8 รูปทรงเลขาคณิต
9 สถิติและกราฟ
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542 : 14-18) กล่าวถึงขอบเขตของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำพังตั้งแต่ 1 ถึง 10 หรือ มากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หริออยู่ในประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดประเภทต่างๆได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตัวเอง ให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณค่าอย่างคร่าวๆก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่ายๆจากสิ่งรอบๆตัวมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องนอนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต้ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม ให้เด็กเห็นก่อนการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กได้จดจำรูปแบบ หรือ ลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กได้ฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บาง โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
งานมอบหมาย
ให้นักศึกษาไปคิดคร่าวๆว่า ขอบข่ายคณิตศาสตร์จะไปใช้ในหน่วยของเราได้อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น